เจาะลึก “แรดิช” ผักหัวน่ารักที่เต็มไปด้วยประโยชน์

มีใครรู้บ้างไหมคะว่า แรดิช อยู่ในวงศ์กะหล่ำปลีหรือมัสตาร์ด โดยมีรูปร่างตั้งแต่สั้นและกลมไปจนถึงยาวและแคบ  เปลือกอาจมีทั้งสีแดง ดำ เหลือง ม่วง และชมพู และแฝงรสชาติเผ็ดร้อนจากเอนไซม์ที่มีอยู่ในรากมากน้อยต่างกัน

  • แรดิชสีแดง ลูกกลม มีรสชาติหวาน เผ็ด และเผ็ดร้อน ได้รับความนิยมมากขึ้น
  • แรดิชสีดำ มีลักษณะเป็นลูกกลมเช่นสีแดง แต่มีขนาดใหญ่กว่า เนื้อในสีขาว มีรสชาติเผ็ดร้อนและมีกลิ่นดิน ซึ่งจัดจ้านกว่าสีอื่น       
  • แรดิชแตงโม เป็นแรดิชที่มีเปลือกเป็นสีขาวปนสีเขียวแซมชมพูนิดๆ เพราะมีเนื้อสีชมพูอมม่วง จัดว่าเป็นพันธุ์พื้นเมืองที่ส่งต่อกันมาหลายรุ่น ถ้ากินดิบๆ จะมีรสเผ็ดแต่ไม่เท่าสีดำ และความเผ็ดจะลดลงเมื่อผ่านความร้อน
  • หัวไชเท้า หรือ Daikon Radish ที่ต้องเขียนแบบนี้เพื่อให้เข้าใจตรงกันว่า จริงๆ แล้ว ไชเท้ารูปร่างยาวๆ เปลือกขาวๆ เป็นญาติกับแรดิชก่อนหน้านี้ค่ะ และถ้าสังเกตดีๆ จะพบว่า ไชเท้ามีทั้งรูปร่างกลมหรือทรงกระบอก มีรสชาติเผ็ดเล็กน้อยและหวาน ไม่เผ็ดเท่าหัวไชเท้าสีแดง

ทั้งนี้ แรดิชทุกชนิดเต็มไปด้วยสารอาหารสำคัญมากมาย ทั้งวิตามินซี  วิตามินเค  โพแทสเซียม ซึ่งช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน บำรุงกระดูก และควบคุมความดันโลหิต

นอกจากนี้ยังมีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยป้องกันเซลล์จากความเสียหาย และลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเรื้อรัง เช่น โรคมะเร็ง ช่วยย่อยอาหาร เพราะใยอาหารในแรดิชช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบขับถ่าย ลดอาการท้องผูก และมีฤทธิ์ขับปัสสาวะ ช่วยลดอาการบวมน้ำ และขับสารพิษออกจากร่างกาย

สำหรับคนที่ออเดอร์แรดิชไปแล้วกินไม่หมด มีวิธีเก็บไม่ยาก เพราะถ้าเป็นแรดิชสดสามารถเก็บไว้ได้ 1-2 วันในอุณหภูมิห้อง แต่ถ้าอยากเก็บไว้เป็นเวลานาน ควรตัดใบออกจากรากเสมอ เพราะใบจะดูดความชื้นออกจากรากซึ่งจะทำให้ทั้งหัวนิ่มลง  แต่ถ้าแรดิชเริ่มเหี่ยว ออกอาการนิ่มๆ ให้นำทั้งหัวไปแช่ในชามน้ำแข็ง แรดิชก็จะกรอบทันที วิธีนี้จะช่วยทำให้ใบที่เหี่ยวเฉากลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง

แรดิชนั้น เป็นผักที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพสูงมากๆ แถมยังสามารถนำมาประกอบอาหารได้หลากหลายเมนู การรับประทานแรดิชเป็นประจำจะช่วยให้ร่างกายแข็งแรงและมีสุขภาพที่ดีแน่นอนค่ะ

อยากรู้วิธีทำซุปแรดิช คลิกตรงนี้เลยค่ะ แจกสูตรเด็ด! Radish Soup แสนอร่อยทั้งใสข้น