บางคนเห็นผักกาดแก้วแต่ไม่รู้ว่า ชื่อจริงๆ คืออะไรไหน ก็เลยเรียกแบบเหมาๆ ว่า ผักสลัด ซึ่งจริงๆ ก็ไม่ผิด เพียงแต่ผักสลัดไม่ได้มีชนิดเดียวในโลก และผักกาดแก้วคือหนึ่งในผักอีกหลายประเภทที่นิยมนำมาเป็นเป็นเมนูสลัดนั่นเอง ส่วนความพิเศษของผักกาดแก้วคืออะไรบ้าง KC Fresh สรุปมาให้ค่ะ
ทางทวีปยุโรป เรียกผักกาดแก้วว่า Iceberg Lettuce เพราะมีความกรุบกรอบเหมือนอย่างก้อนน้ำแข็งไอซ์เบิร์ก จัดเป็นพืชชนิดล้มลุก ใบสีเขียวอ่อน ลำต้นเป็นกอ ขอบใบ หยัก บางกรอบ ม้วนห่อเป็นหัว แบบหลวมๆ ไม่มีรสขม ไม่มีกลิ่นเหม็นเขียว นิยมกินเป็นผักสด ที่อาจนำมาแกล้มกับเมนูสารพัดยำของบ้านเรา หรือนำมาใส่ในเบอร์เกอร์และแซนวิช แต่บางคนก็เอามาผัดไฟแดงไม่ก็ฉ่าน้ำปลาประมาณเดียวกับกะหล่ำปลีทอดน้ำปลา แต่ควรผัดเร็วๆ พอสะดุ้งไฟก็พอ ไม่อย่างนั้นความกรอบจะหายไปหมด แต่ถ้าจะบอกว่า เมนูไหนฮิตสุด ก็ยังคงยกให้การนำไป หนึ่งในผักสลัดค่ะ ซึ่งเหตุผลหนึ่งคือ ความฉ่ำของผักกาดแก้วที่มีน้ำอยู่ภายในใบทำให้อิ่มท้องได้ดี
ส่วนวิธีสังเกตว่าผักกาดแก้วยังสดและกรอบอยู่หรือเปล่า ให้ดูที่ใบ ต้องมีสีเขียวอ่อนๆ ไม่มีรอยช้ำสีน้ำตาลๆ และใบยังติดกับโคนแน่น ที่สำคัญอย่าลืมพลิกดูรอยตัดที่ก้านว่ายังสดอยู่หรือไม่ ถ้าเริ่มแห้งแล้วแบบนั้นก็ไม่เวิร์ค
ผักกาดแก้วอุดมไปด้วยแร่ธาตุสูง และมีแคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก และวิตามินซีแบบแน่นๆ เหมาะมากๆ แถมยังมีคาร์โบไฮเดรต ต่ำมาก ผู้ป่วยโรคเบาหวานกินผัดกาดแก้วได้อย่างสบายใจ แต่ในเรื่องของการนำไปกินนั้น หากว่าซื้อมาแล้วยังไม่กินก็เก็บเข้าตู้เย็นไว้ได้ ซึ่งหากบางร้านห่อด้วยพลาสติกไว้อยู่แล้วก็ยังไม่ควรแกะออกมาจนกว่าจะกิน และใส่ไว้ในช่องแช่ผัก ระวังอย่าให้ถูกทับด้วยผักชนิดอื่นๆ เพราะใบอาจช้ำง่าย
เมื่อจะกินจึงนำมาล้าง โดยใช้แค่การผ่านน้ำ เพื่อให้เศษดินที่อาจติดอยู่ตามซอกใบออกให้หมด หากซื้อตามท้องตลาดควรแช่ในน้ำยาล้างผักโดยเฉพาะ หรือเป็นน้ำเปล่าผสมเบกกิ้งโซดา ในอัตราส่วน 10 : 1 ราว 10 นาที แล้วล้างออกแบบให้น้ำไหลผ่านสัก 2 นาที แล้วราดน้ำเย็นเพื่อให้ผักกาดแก้วกรอบยิ่งขึ้น สะเด็ดน้ำแล้วซับให้แห้ง ก่อนนำไปกินในทุกๆ เมนู
ทั้งนี้ใน https://vegetweb.com/ ได้สรุปคุณประโยชน์และสรรพคุณทางยาของผักกาดแก้ว ไว้ว่า “ผักกาดแก้วช่วยให้นอนหลับง่ายขึ้น และยังเป็นยากล่อมประสาท ช่วยแก้เมาเรือ แก้ไอ และมีฮีโมโกลบินที่ช่วยต้านมะเร็งและรักษาโรคโลหิตจางโดยเฉพาะในหญิงมีครรภ์ อีกทั้งยังช่วยแก้อาการท้องผูกได้อีกด้วย”
ข้อมูล : สารานุกรมผัก