พอได้ยินคำว่า “มะเขือเทศ” สัมผัสได้ถึงความสุขภาพดียังไงไม่รู้ เพราะในมะเขือเทศเด่นที่การมีไลโคปีน (Lycopene) อยู่มากมาย โดยเฉพาะที่เปลือกของมะเขือเทศ เพราะเป็นแหล่งรวมวิตามินซี เบตาแคโรทีน และไลโคปีน ยิ่งเป็นมะเขือเทศสุก ไลโคปีนจะยิ่งเยอะขึ้น แต่ในบางครั้งการประกอบอาหารในบางเมนูก็จำเป็นต้องนำเอาเปลือกออกก่อน วันนี้ KC Fresh จึงนำวิธีนำเปลือกออกแบบง่ายๆ มาบอกกัน
แต่ก่อนจะไปรู้จักวิธีต่างๆ ขอเล่าให้รู้ก่อนว่า ไลโคปีนคือ สารประกอบในกลุ่มแคโรทีนอยด์ชนิดหนึ่งใน 600 ชนิด ซึ่งเราพบไลโคปีนในผลไม้ชนิดอื่นๆ ได้เช่นเดียวกับในมะเขือเทศ นั่นคือ แตงโม เกรพฟรุตสีชมพู ฝรั่งสีชมพู และมะละกอ โดยไลโคปีนในมะเขือเทศสด มีปริมาณไลโคปีน 0.88-4.20 มิลลิกรัม แต่จะพบมากขึ้นเมื่อนำมะเขือเทศไปผ่านความร้อน
ฉะนั้นใครที่คิดว่ากินมะเขือสดจะได้ปริมาณไลโคปินมากที่สุดต้องคิดใหม่นะคะ เพราะในกรณีของมะเขือเทศเป็นข้อยกเว้น เมื่อมะเขือเทศผ่านความร้อนจะทำให้การยึดจับของไลโคปีนกับเนื้อเยื่อของมะเขือเทศอ่อนตัวลง ทำให้ไลโคปีนถูกร่างกายนำไปใช้ได้ดีกว่า ยืนยันได้จากปริมาณไลโคปีนต่อน้ำหนัก 100 กรัม ดังนี้ค่ะ
ทีนี้ก็มาถึงวิธีนำเปลือกมะเขือเทศออกตามสัญญากันแล้ว ถ้าพร้อมแล้ว เริ่มเลยค่ะ
วิธีแรก : ใช้น้ำต้มเดือด
1. ล้างและกรีดก้นมะเขือเทศเป็นรูปกากบาทเพื่อจะได้ปอกง่ายขึ้น
2. ตั้งหม้อต้มน้ำร้อน ขณะเดียวกันก็เตรียมชามใส่น้ำเย็นวางไว้ข้างๆ เตา
3. นำมะเขือเทศใส่ลงในน้ำเดือดจนเปลือกเริ่มปริ (ประมาณ 15-25 วินาที)
4. ตักมะเขือเทศใส่ในชามน้ำเย็นที่วางไว้ข้างเตาทันทีเพื่อทำให้มะเขือเทศเย็นลงและไม่สุกไปกว่านี้
5. เมื่อมะเขือเทศเย็นตัวจนสามารถจับได้ เปลือกมะเขือเทศน่าจะเหี่ยวและไม่เกาะเนื้อมะเขือเทศ จับมุมของเปลือกมะเขือเทศที่กรีดเป็นกากบาทไว้และดึง เปลือกจะหลุดออกอย่างง่ายดาย
วิธีที่ 2 : ใช้ไฟแก๊ส
1. ล้างมะเขือเทศในน้ำเย็น จากนั้นซับน้ำให้แห้ง ดึงจุกมะเขือเทศออก
2. ใช้ส้อมจิ้มมะเขือเทศจากทางด้านบน
3. เปิดเตาแก๊สไฟปานกลาง-ไฟแรง
4. ถือมะเขือเทศให้ห่างจากเปลวไฟ 1 นิ้ว ค่อยๆ หมุนมะเขือเทศให้โดนความร้อนโดนมะเขือเทศเท่ากันทั้งลูก ประมาณ 15-25 วินาทีจนกว่าเปลือกเริ่มปริ (อารมณ์เดียวกับการปิ้งมาร์ชเมลโลว)
5. ปิดเตาและทิ้งมะเขือเทศให้เย็นลง ก็ปอกเปลือกได้เลย
เพียง 2 วิธีง่ายๆ คุณก็มีมะเขือเทศเนื้อเน้นๆ ไปปรุงอาหารอย่างที่ต้องการแล้วนะคะ
ข้อมูลจาก