จากข้อมูลการสำรวจและรายงานต่างๆ ของหลากหลายสถาบันพบว่า คนไทยในปัจจุบันมีอัตราการบริโภคผักและผลไม้ต่ำกว่ามาตรฐานที่องค์การอนามัยโลก (WHO) แนะนำ ซึ่งส่งผลเสียต่อสุขภาพโดยรวมอย่างคาดไม่ถึง วันนี้ KC Fresh จึงขอนำข้อมูลในเรื่องนี้มาฝากกันค่ะ
องค์การอนามัยโลกแนะนำให้บริโภคผักและผลไม้วันละ 400 กรัม แต่ในความเป็นจริง ผลสำรวจกลับพบว่า คนไทยส่วนใหญ่บริโภคผักและผลไม้ในปริมาณเฉลี่ยต่ำกว่ามาตรฐานนี้ ซึ่งอ้างอิงจากผลสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 5 พ.ศ. 2557 พบว่า คนไทยอายุ 15 ปีขึ้นไป รับประทานผักในปริมาณเฉลี่ย 2.2 ส่วนต่อวัน และผลสำรวจยังชี้ให้เป็นว่าคนไทยกินผักผลไม้เฉลี่ยเพียงแค่ 3 ทัพพีต่อวันเท่านั้น
ซึ่งการบริโภคผักและผลไม้ไม่เพียงพอต่อร่างกาย มีส่วนเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคมะเร็ง และโรคเบาหวาน โดยผลสำรวจของแอมเวย์พบว่า คนไทยเกินครึ่ง 62.3% กินผักผลไม้ไม่เพียงพอต่อวัน นอกจากนั้น 89% บริโภคผักผลไม้ไม่ครบทั้ง 5 สี ทำให้หน่วยงานต่างๆ รณรงค์ให้คนไทยบริโภคผักและผลไม้เพิ่มขึ้น
แต่เพื่อให้เห็นภาพชัดขึ้นว่า การบริโภคผักและผลไม้ไม่เพียงพอส่งผลเสียต่อร่างกายในด้านไหนบ้าง เราขอยกตัวอย่างดังนี้
นอกจากนี้ การไม่กินผัก ทำให้เกิดโรคทางเดินอาหารได้ง่ายกว่าคนที่กินผักเป็นประจำ ไม่ว่าจะเป็นท้องผูก ริดสีดวงทวาร เกิดภาวะขาดสารอาหาร รวมไปถึงการขาดวิตามินและแร่ธาตุที่อาจนำไปสู่อาการต่าง ๆ เช่น อ่อนเพลีย ภูมิคุ้มกันต่ำ และปัญหาผิวหนัง รวมถึงปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพช่องปาก
ที่สำคัญคือ ส่งผลให้ต้องเผชิญกับภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วน เพราะผักและผลไม้มีแคลอรีต่ำและใยอาหารสูง ซึ่งช่วยให้อิ่มนานและควบคุมน้ำหนัก การขาดผักและผลไม้ในอาหารอาจนำไปสู่การบริโภคอาหารที่มีแคลอรีสูงและน้ำหนักเกิน
ดังนั้น การบริโภคผักและผลไม้ให้เพียงพอจึงเป็นสิ่งสำคัญในการรักษาสุขภาพที่ดีและป้องกันโรคต่างๆ ที่ไม่ควรละเลย เห็นด้วยไหมคะ