มาแล้ว! เทรนด์อาหารปี 2025 กับโลกแห่งพืชผักที่ยังคงเปี่ยมไปด้วยความยั่งยืน

แหล่งข้อมูลมากมายที่เกี่ยวข้องกับเทรนด์อาหารปี 2025 บอกภาพรวมไว้ว่า จะเป็นปีแห่งการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ โดยมีแนวโน้มที่เน้นไปในเรื่องของสุขภาพ ที่ยังคงมาพร้อมความยั่งยืนอย่างเข้มข้นขึ้นทั้งในเชิงของผู้ผลิตและผู้บริโภค แต่จะมีประเด็นอะไรบ้าง KC Fresh หยิบยกมาเล่าให้รู้กันค่ะ

Plant-Based ยิ่งๆ ขึ้นไป

ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มอาหารมังสวิรัติหรือวีแกน ที่ล้วนเป็นการบริโภคอาหารจากพืชเป็นหลักจะได้รับความนิยมอย่างมาก นั่นเพราะผู้คนหันมาเลือกรับประทานผัก ผลไม้ ธัญพืช และโปรตีนจากพืชมากขึ้น เพื่อสุขภาพที่ดีและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม นอกจากนั้ยังมีรูปแบบของเฟล็กซิแทเรียน (Flexitarian) ซึ่งเป็นการกินอาหารที่ยึดหลักอาหารมังสวิรัติเป็นหลัก แต่บางครั้งอาจกินเนื้อสัตว์ สัตว์ปีก หรือปลาด้วยแต่ในสัดส่วนที่น้อยกว่า

กระแสอาหารท้องถิ่นและอาหารตามฤดูกาลมาแน่

ผู้บริโภคจะหันมาเลือกซื้อผักผลไม้ที่ปลูกในท้องถิ่นมากขึ้น เพราะต้องการลดการขนส่งและสนับสนุนเกษตรกร รวมถึงชุมชน  ประกอบการการเลือกพืชผักผลไม้บริโภคตามฤดูกาล เพื่อให้ได้คุณค่าสารอาหารสูงสุด และเลี่ยงสารเคมีในการเร่งการผลิตในบางประเภท

อาหารฟังก์ชัน หรือ Functional Food

สองปีที่ผ่านมาการเลือกบริโภคซูเปอร์ฟู้ด ซึ่งเป็นอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงเป็นที่นิยมมาก ในปี 2025 ก็ยังไม่หายไปไหน และผู้บริโภคจะยิ่งใส่ใจมากขึ้นด้วยการหันมาบริโภคผักผลไม้ที่มีสารอาหารเฉพาะ เช่น แอนติออกซิแดนต์ ไฟเบอร์ และโอเมก้า 3 เพื่อสุขภาพที่ดีขึ้น

อาหารที่เข้าถึงง่าย กินสะดวก

ไม่ว่าจะเป็นผักผลไม้ที่หั่นและปรุงรสเรียบร้อยแล้ว หรือแม้แต่ขนมขบเคี้ยวที่ทำจากผักและผลไม้ เช่น ผักอบแห้ง หรือถั่วอบ

กินอาหารแบบสนับสนุนความยั่งยืนและจริยธรรม

ปี 2025 ผู้บริโภคจะให้ความสำคัญกับผลิตภัณฑ์ที่ปลูกโดยใช้วิธีการเกษตรอินทรีย์ และเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่ผลิตโดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม เพื่อเกิดการค้าที่เป็นธรรม ย้ำการสนับสนุนเกษตรกรรายย่อยและการค้าที่เป็นธรรม

 

ประเด็นสุดท้ายที่ให้ความสำคัญกันมานาน และได้รับการสร้างสรรค์พัฒนามากขึ้นคือ การบริโภคอาหารที่เกิดจากแนวคิดการผสมผสานวัฒนธรรมอาหารจากทั่วโลก ทำให้เกิดเมนูอาหารใหม่ๆ ที่น่าสนใจ โดยเน้นการนำวัตถุดิบจากหลากหลายวัฒนธรรมมาผสมผสานกัน

ถึงตรงนี้ จึงขอสรุปว่า เทรนด์อาหารในปี 2025 นี้ จะเน้นไปที่สุขภาพที่ดีขึ้น การลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และความหลากหลายทางวัฒนธรรม ผู้บริโภคจึงให้ความสำคัญกับแหล่งที่มาของอาหาร คุณค่าทางโภชนาการ และรสชาติมากขึ้น