อยากหุ่นสวยต้องกิน “เผือก” จริงไหม?

มีคนสงสัยแบบนี้จริงๆ นะคะ ที่ว่าถ้าอยากหุ่นดีต้องปรับการทานอาหาร ไม่กินแป้งแบบเดิมๆ แต่ต้องหันมากินพืชหัวอะไรแบบนั้น วันนี้ KC Fresh จึงหาข้อมูลมาแถลงให้รู้กัน

เริ่มกันที่รู้จัก “เผือก” กันก่อนเลยดีกว่าค่ะ

ในโลกนี้มีเผือกอยู่ถึง 200 สายพันธุ์เลยนะคะ ซึ่งในจำนวนนี้จะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ เผือกที่มีหัวขนาดไม่ใหญ่ และมีหัวเล็กกว่าล้อมรอบอยู่หลายหัว ทุกหัวใช้รับประทานและใช้ทำพันธุ์ได้เรียกว่า เอดโด (eddoe) และ เผือกที่มีหัวขนาดใหญ่ และมีหัวขนาดเล็กล้อมรอบ ใช้รับประทานได้ เผือกประเภทนี้ได้แก่ เผือกหอม ซึ่งเป็นพันธุ์ที่นิยมปลูกทั่วไปในบ้านเรา เรียกว่า แดชีน (dasheen)

สำหรับเผือกในบ้านเรา มีอยู่ 4 ชนิดค่ะ คือ เผือกหอม (นิยมเอาไปต้มกิน) เผือกเหลือง เผือกไม้ หรือ เผือกไหหลำ และเผือกตาแดง ซึ่งไม่ว่าจะเป็นเผือกชนิดไหนก็ล้วนประกอบด้วยสารอาหาร วิตามินและแร่ธาตุอย่างโปรตีน เบตาแคโรทีน วิตามินบี วิตามินซี แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก โพแทสเซียม แมกนีเซียม โซเดียม ฟลูออไรด์ และซาโปนิน และเพราะว่าเผือกมีธาตุเหล็กและฟลูออไรด์สูง จึงช่วยในการเสริมสร้างกระดูกแข็งแรงและป้องกันฟันผุ แถมยังเป็นอาหารที่ช่วยบำรุงลำไส้แก้อาการท้องเสีย ช่วยเรื่องการย่อยอาหาร ป้องกันโรคหัวใจ ลดความดันโลหิต ลดน้ำตาลในเลือดและความเสี่ยงของการเป็นเบาหวาน บำรุงสายตา ที่สำคัญยังเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้ร่างกายและบำรุงระบบประสาทอีกด้วย

เอาล่ะค่ะ รู้จักเผือกกันพอประมาณแล้ว ก็มาเข้าข้อสงสัยกันเลยดีกว่า

KC Fresh ขออธิบายง่ายๆ ว่า ข้าวสวย 1 ทัพพีให้พลังงานประมาณ 68 กิโลแคลอรี่ ส่วนเผือก 1 ทัพพีให้พลังงานสูงถึง 80 กิโลแคลอรี่ หรือถ้าเทียบเป็นหน่วยชั่งตวงที่ 100 กรัม เผือกให้พลังงานแก่ร่างกายสูงถึง 119 กิโลแคลอทั้งนี้กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ยังระบุว่า เผือกเป็นพืชที่มีแป้งสูง หรือที่เรียกว่า Starchy vegetable จึงมีแนวโน้มมากว่า ถ้ากินเข้าไปแล้ว จะมีการเปลี่ยนแป้งให้กลายเป็นน้ำตาลในร่างกาย และเมื่อสะสมมากๆ คือต้นเหตุที่ทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น

นั่นก็แปลว่า อยากสวยหุ่นดี ไม่ควรกินเผือกนะคะ เว้นเสียแต่ว่าจะปรับปริมาณและกินแบบพอดีๆ เช่นกินข้าวสวย 2 ทัพพี กินเผือก 1 ทัพพี และออกกำลังกายคู่ไปด้วย ในปริมาณเท่ากัน เพื่อไม่ให้ร่างกายสูญเสียมวลกล้ามเนื้อ

และอย่างที่เกริ่นไปแล้วนะคะว่า เผือกมีคุณค่าสารอาหารมากมาย คุณอาจจะเปลี่ยนความตั้งใจที่จะกินเผือกเพื่อคุมน้ำหนักมาเป็นการกินเผือกเพื่อประโยชน์ต่อสุขภาพด้านอื่นๆ เช่น บำรุงกระดูกและฟันเพราะเผือกมีแคลเซียมสูง และไม่ลืมนำเผือกไปผ่านความร้อนก่อนเพื่อลดปริมาณกรดออกซาลิกที่อาจเป็นสาเหตุของการเกิดโรคนิ่ว และโรคเก๊าท์ในระยะยาวได้ด้วยนะคะ

 

คุณค่าทางโภชนาการของหัวเผือกดิบ ต่อ 100 กรัม

  • พลังงาน 112 กิโลแคลอรี 7%
  • คาร์โบไฮเดรต 26.46 กรัม 20%
  • น้ำตาล 0.40 กรัม
  • เส้นใยอาหาร 4.1 กรัม 11%
  • ไขมัน 0.20 กรัม มากกว่า 1%
  • โปรตีน 1.5 กรัม 3%
  • น้ำ 70.64 กรัม
  • วิตามินเอ 76 หน่วยสากล 2.5%
  • วิตามินบี 1 0.095 มิลลิกรัม 8%
  • วิตามินบี 2 0.025 มิลลิกรัม 2%
  • วิตามินบี 3 0.600 มิลลิกรัม 4%
  • วิตามินบี 5 0.303 มิลลิกรัม 6%
  • วิตามินบี 6 0.283 มิลลิกรัม 23%
  • วิตามินบี 9 22 ไมโครกรัม 5.5%
  • วิตามินซี 4.5 มิลลิกรัม 7%
  • วิตามินอี 2.38 มิลลิกรัม 20%
  • วิคามินเค 1.0 ไมโครกรัม 1%
  • ธาตุแคลเซียม 43 มิลลิกรัม 4%
  • ธาตุเหล็ก 0.55 มิลลิกรัม 7%
  • ธาตุแมกนีเซียม 33 มิลลิกรัม 8%
  • ธาตุแมงกานีส 0.383 มิลลิกรัม 1.5%
  • ธาตุฟอสฟอรัส 84 มิลลิกรัม
  • ธาตุโพแทสเซียม 591 มิลลิกรัม 12.5%
  • ธาตุโซเดียม 11 มิลลิกรัม มากกว่า 1%
  • ธาตุสังกะสี 0.23 มิลลิกรัม 2%
  • ธาตุทองแดง 0.172 มิลลิกรัม 19%
  • ธาตุซีลีเนียม 0.7 ไมโครกรัม 1%

% ร้อยละของปริมาณแนะนำที่ร่างกายต้องการในแต่ละวันสำหรับผู้ใหญ่ (ข้อมูลจาก : USDA Nutrient database)

 

ข้อมูลจาก