หนึ่งในเมนูผักที่หลายคนติดใจมากๆ ประมาณว่า กินได้กินดี ไม่ว่าจะใส่ก๋วยเตี๋ยว ผัดน้ำมันหอย หรือแม้แต่ทำอาหารว่างอย่างปอเปี๊ยะสด ทำให้เราเกิดอยากรู้ถึงที่มาที่ไปว่า เจ้าผักชนิดนี้ เข้ามาสู่เมืองไทยได้อย่างไร และมีประโยชน์มากแค่ไหน เพราะต้นเล็กนิดเดียวจะมีสารอาหารเยอะจริงไหม วันนี้เรามีคำตอบมาให้ค่ะ
ว่ากันว่า เรื่องราวของผักต้นเล็กๆ อย่างถั่วงอก มีปรากฎอยู่ในหนังสือชื่อ Honzou Wamyou (the oldest book for medical plants) ซึ่งเป็นหนังสือเก่าแก่ของญี่ปุ่นที่ระบุเกี่ยวกับการใช้พืชมารักษาโรค ถูกเขียนขึ้นมาในสมัยเฮอัง (ราว ค.ศ 794 – 1185) ต่อมาในยุคเอโดะ (ราว ค.ศ 1603 – 1868) มีการนำเมล็ดถั่วเปลือกดำมาใช้ในการรักษาโรค จนกระทั่งปลายยุคสมัยเมจิ (ราว ค.ศ. 1868 – 1912) ได้มีการนำเมล็ดถั่วมาเพาะปลูกในเชิงการเกษตร และ แพร่ขยายไปสู่ภัตตาคารของประเทศจีน และถั่วงอกก็เริ่มถูกนำบริโภคในระดับครัวเรือนอย่างกว้างขวางตั้งแต่นั้นมา (อ้างอิง : https://www.talingchanbeansprouts.com/)
โดยถั่วงอกที่เรากินอยู่ในทุกวันนี้ เป็นถั่วงอกที่นิยมปลูกจากถั่ว 3 ประเภทนี้ค่ะ
ไม่ว่าจะเป็นถั่วงอกจากถั่วอะไร โดยภาพรวมแล้วราคาไม่แพงเมื่อเทียบกับผักชนิดอื่น และยังเพาะได้ทุกฤดู จัดเป็นผักที่มีแคลอรี่ต่ำ ให้สารอาหารสูง มีน้ำเป็นส่วนประกอบหลัก จึงเหมาะกับคนที่ต้องการคุมน้ำหนัก นอกจากนี้ถั่วงอกยังมีโปรตีน วิตามินซี และไฟเบอร์ โดยไฟเบอร์นี้ทำหน้าที่ดูดซับน้ำในกระเพาะและขยายตัว ทำให้เกิดกระบวนการขับสารพิษในกระบวนการย่อยอาหาร
ถั่วงอกยังเป็นผักที่มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระสูง มีส่วนช่วยทำให้ผิวชุ่มชื้น ผิวนุ่ม เปล่งปลั่งดูมีน้ำมีนวล ทั้งยังมีวิตามินซีช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคให้กับร่างกายและยังช่วยป้องกันหวัด และช่วยสร้างฮอร์โมนระงับความเครียดต่างๆ คนทำงานทั้งหลายไม่ควรพลาดนะคะ
ยังมีคำถามตามมาอีกว่า แล้วที่ว่าไม่ควรกินถั่วงอกดิบจริงไหม?
จริงค่ะ แม้บางเมนูกินดิบๆ ยิ่งอร่อย เพราะได้ความกรอบเน้นๆ แต่เนื่องจาก ถั่วงอกดิบมีกรดไฟติกมาก คนที่ปวดเข่าจึงควรหลีกเลี่ยง เพราะกรดชนิดนี้จะไปแย่งจับแคลเซียม หากอยากกินควรปรุงสุกเสียก่อน
ขอปิดท้ายประโยชน์ของถั่วงอกที่สาวๆ อาจจะยังไม่รู้มาก่อนอีกสักนิด นั่นคือ การกินถั่วงอกเป็นประจำ โดยเฉพาะช่วงก่อนมีประจำเดือนจะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดความผิดปกติของประจำเดือนได้ ไม่เชื่อ ลองทานกันดูนะคะ
ข้อมูลจาก